Artificial Intelligence (AI) หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “ปัญญาประดิฐ” เป็นคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการแยกวิเคราะห์ข้อมูลตามจุดประสงค์ ทุกวันนี้เทคโนโลยีได้มาถึงจุดที่มันคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง บริษัททั่วแข่งขันกันพัฒนาระบบที่จะช่วยสอนให้พวกมัน “คิด” เหมือนกับมนุษย์ ตลอดเวลาที่ผ่านมาทุกคนต่างเฝ้าจับตาดูการเคลื่อนไหวในวงการ AI มาอย่างต่อเนื่อง และพวกเราเองก็เช่นกัน เราลองมาดูกันว่าตอนนี้เทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาไปถึงขั้นไหนกันแล้ว
ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร
ปัญญาประดิษฐ์หรือ “AI” เป็นคำที่ใช้อธิบายความสามารถของระบบที่จำลองความฉลาดของมนุษย์ เช่น การเรียนรู้ ตรรกะ การใช้เหตุผล การรับรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมดเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าเป็นเอกลักษณ์ของมนุษย์ ตอนนี้มันกำลังถูกจำลองแบบด้วยเทคโนโลยีและถูกนำไปใช้ในทุกอุตสาหกรรม ตัวอย่างทั่วไปของ AI ในโลกปัจจุบันคือ “แชทบอท” โดยเฉพาะ “การสนทนาแบบสด” ที่มันจะคอยให้บริการลูกค้าขั้นพื้นฐานบนเว็บไซต์ของบริษัท
รู้จักระบบเรียนรู้แบบ Deep Learning
การเรียนรู้แบบเชิงลึก (Deep Learning ) หรือ “การเรียนรู้ด้วยตนเอง” เป็นปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถสอนตัวเองได้ โปรแกรมจะพยายามเรียนรู้จากตัวอย่างที่ถูกป้อนเข้ามานับล้านชุด มันจะฉลาดมากขึ้นตามจำนวนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไป ยกตัวอย่างเช่นระบบจดจำรูปภาพ ที่จะช่วยระบุได้ว่าภาพที่แสดงอยู่นั้นเป็นรูปของอะไร ใช่คน หรือ สัตว์ไหม
รู้จักกับระบบ Machine Learning
ระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (Machine Learning) วันนี้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตัวของมันเอง แถมยังฉลาดเป็นกรดอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น machine learning ที่ได้กลายเป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมายคือเพื่อพัฒนาเทคนิคให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ดีขึ้น
เครือข่าย Neural Networks
เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่จำลองการทำงานสมองของมนุษย์ สามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้ตามกาลเวลา ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Apple ที่นำระบบ Neural Networks นี้มาใช้กับเทคโนโลยี “Siri” ในปี 2014 ในขณะที่บริษัทอย่าง Google เองก็นำมาใช้ปรับปรุงการแปลภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษใน Google Translate
ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ AI
1.การจดจำรูปแบบเสียง
ซิริ เป็นเอไอตัวแรกๆ ที่สามารถเข้าใจสิ่งที่คุณพูดกับเธอได้ ทุกวันนี้ระบบมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก มันสามารถจดจำภาษา และน้ำเสียงของมนุษย์ได้ดีกว่าเดิม
2.ผู้ช่วยเสมือนจริง
เป็นเอไอที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น Chatbot ปัจจุบันนี้ระบบผู้ช่วยเสมือนจริงถูกนำไปใช้ในบริการลูกค้า หรือเป็นผู้ช่วยในระบบบ้านอัจฉริยะ บริษัทที่ให้บริการผู้ช่วยเสมือนจริงได้แก่ Amazon, Apple, Microsoft และ Satisfi
3.ใช้ป้องกันภัยทางไซเบอร์
ทุกวันนี้ภัยจากโลกออนไลน์น่ากลัวมาก แต่ได้มีผู้คิดคนระบบตอบโต้แบบอัตมัติเรียกว่า Cyber Defense มีกลไกที่มุ่งเน้นการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองการโจมตี หรือภัยคุกคามต่อระบบ ต้องขอบคุณเทคโนโลยี AI กับ ML ที่ช่วยยกระดับความปลอดภัยให้สูงขึ้นไปอีกขั้น
4.ปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหาออนไลน์ได้
คุณจะแปลกใจว่าบทความที่คุณอ่านในอินเตอร์เน็ต อาจจะเป็นผลงานของ AI ที่เขียนขึ้นมาเอง ยกตัวอย่างเช่น USA Today หรือ CBS ที่ตอนนี้ได้เริ่มใช้ AI เข้ามาเขียนบทความในเว็บไซต์ของพวกเขาแล้ว หรือ Wibbitz เป็นเครื่องมือ SaaS ที่ช่วยให้ผู้เผยแพร่สร้างวิดีโอจากเนื้อหาที่ใช้เวลาเขียนในไม่กี่นาที ด้วยเทคโนโลยีการผลิตวิดีโอแบบ AI
5.การจดจำรูปภาพ
เทคโนโลยีการจดจำรูปภาพ (Image Recognition) เป็นกระบวนการในการระบุ ตรวจจับวัตถุ หรือคุณสมบัติในภาพดิจิทัล วิดีโอ ซึ่งในสมัยก่อนมันมีความท้าทายในการพัฒนามาก เพราะแรกเริ่มมันมีความผิดพลาดอยู่ที่ 60 – 70% จนกระทั่งเวลาผ่านไปมันสามารถจดจำสิ่งของได้ถูกต้อง และมีความผิดพลาดเหลือเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นเท่านั้น AI สามารถค้นหารูปภาพในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลที่หลากหลาย ก่อนที่จะนำมาใช้ตัดสินว่าอันไหนมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดในระหว่างการค้นหารูปภาพ นอกจากนี้แล้วนั้น เทคโนโลยีการจดจำรูปภาพยังสามารถใช้ในการตรวจจับป้ายทะเบียน วินิจฉัยโรควิ เคราะห์ความใบหน้า ฯลฯ