‘เทคโนโลยีชีวภาพ’ คือ การนำองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต , กระบวนการทางปฏิกิริยาชีวเคมี ซึ่งเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้กับทางอุตสาหกรรม โดยมีจุดประสงค์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สามารถสร้างประโยชน์กับมนุษย์ได้ เช่น การผลิตขนมปัง , การผลิตยาปฏิชีวนะ , การสร้างพันธุ์พืชเพื่อต้านทานโรค , การใช้จุลินทรีย์ , บำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้จุลินทรีย์ผลิตก๊าซไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีชีวภาพตามคำนิยามของ องค์กร OECD เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ ด้วยการใช้สารชีวภาพเป็นสารตั้งต้น เป็นต้น
‘เทคโนโลยีชีวภาพ’ เกิดขึ้นมาบนโลกของเรานับพันปีมาแล้ว โดยมนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้ ทางการเกษตร, การผลิตอาหาร, และการทำยารักษาโรค ในช่วงปลายทศวรรษ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษ 21 , เทคโนโลยีชีวภาพได้แพร่กระจายความรวมไปถึงวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น Genomics , เทคโนโลยียีน , ภูมิคุ้มกันประยุกต์ รวมทั้งการพัฒนาวิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยทางเภสัชกรรม เป็นต้น
เทคโนโลยีชีวภาพ สามารถนำมาผสมผสานกับการใช้งานในพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญๆได้มากมาย เช่น การดูแลสุขภาพ , การผลิตพืชทางการเกษตร , การใช้พืชหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร รวมทั้ง การใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
‘เทคโนโลยีชีวภาพ’ มีกี่ประเภท ?
โดย ‘เทคโนโลยีชีวภาพ’ ไม่มีจำนวนประเภทที่แน่นอน อีกทั้งสิ่งที่มีความสำคัญ คือ ไม่ควรระบุจำนวนประเภทที่แน่นอนลงไป เนื่องจากมันจะเป็นการจำกัดการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ในสาขาต่างๆที่ควรมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งต่อเนื่องไปอีก ในอนาคต เพราะเมื่อเกิดการระบุจำนวน , ประเภท ที่มีความชัดเจนลงไปแล้ว ก็จะเปรียบเสมือน เป็นการตีกรอบขอบเขตของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ให้อยู่ในจำนวนประเภทที่ได้ระบุไว้เท่านั้น จึงทำให้เกิดการจำกัดการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพลงไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น…
ถ้าจำกัดว่าเทคโนโลยีชีวภาพมี 4 ประเภท ได้แก่…
- GMOs
- การโคลนนิ่ง
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ลายพิมพ์ DNA
โดยประเภทการจำแนกเหล่านี้ จัดเป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาผสมผสานใช้กับสิ่งมีชีวิต โดยถ้าเทคโนโลยีชีวภาพถูกจำกัดด้วย ข้อจำกัดประเภทดังกล่าวนี้ การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาผสมผสานใช้ กับเทคโนโลยีอื่นๆที่นอกเหนือไปจากนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นได้ ซึ่งส่งผลเสียทำให้ไม่เกิดการพัฒนาใหม่ๆ ขึ้นมา เป็นต้น
ยกตัวอย่าง เช่น…
- DNA Computing คือ การประยุกต์ความรู้ ด้วยการผสมผสานระหว่าง เทคโนโลยีชีวภาพ , คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำ DNA มาใช้ในการคำนวณ และประมวลผลซึ่งมีความเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์
- Bionics คือ การประยุกต์ความรู้ ด้วยการผสมผสานระหว่าง เทคโนโลยีชีวภาพ , วิศวกรรมศาสตร์ , สถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมทั้งคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างสิ่งที่เลียนแบบธรรมชาติ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆเป็นต้น
เพราะฉะนั้น การแบ่งประเภทของเทคโนโลยีชีวภาพ ควรทำให้มีความหลากหลายจะดีกว่า ไม่ต้องไปให้การจำกัด อะไรมากมายนัก โดยมีความคล้ายคลึงกับความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติมากกว่านั่นเอง