หุ่นยนต์

สงคราม หุ่นยนต์สังหาร จะมีจริงไหม?

ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ชั้นนำของโลกกว่า 100 คน เรียกร้องให้มีการห้ามการพัฒนา หุ่นยนต์สังหาร หรืออาวุธที่ควบคุมโดยสมองของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเรียนรู้เหมือนมนุษย์ล้วนคือเทคโนโลยี อัจฉริยะ ที่กำลังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตอาวุธหลายคนเชื่อว่าเรากำลังเข้าสู่ “ยุคปฏิวัติที่สามในการทำสงคราม”

หุ่นยนต์

 

มีประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการประชุมของสหประชาชาติ ว่าด้วยสนธิสัญญาการใช้อาวุธบางชนิดที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 – 17 ธันวาคม ที่กรุงเจนีวาเรียกร้องให้มีการแบนการใช้งาน หุ่นยนต์สังหาร หรือควรออกกฎหมายควบคุม แต่สหรัฐ รัสเซีย และอังกฤษ และอีกไม่กี่ประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกลับไม่ยอมยกมือสนับสนุน ทำให้มตินี้ต้องตกไป หุ่นยนต์สังหาร คือโดรน ที่เห็นกันทั่วไป ต่างกันที่มันมีอาวุธครบมือ ไม่ว่าปืนกลระเบิดแบบชีวภาพ หรือแม้กระทั่งระเบิดนิวเคลียร์ ทำให้โดรนตัวเล็กๆ กลายเป็นเครื่องจักรสังหารขึ้นมาทันที ที่น่ากลัวคือ “หุ่นยนต์สังหาร”ที่ใช้งานในกองทัพทั่วโลก เป็นหุ่นยนต์สังหารแบบไร้คนควบคุม ซึ่งเมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จจะปล่อยออกจากฐานทัพเพื่อบินไปจัดการกับเป้าหมายอย่างอิสระ สาเหตุที่มีการคัดค้านการผลิต และพัฒนา เพราะมีแนวโน้มที่อาวุธประเภทนี้จะเข้าสู่ตลาดหลักได้ง่ายเพราะราคาถูกและถูกใช้งานได้ง่าย นอกจากนี้การใช้หุ่นยนต์ไปฆ่าคนก่อให้เกิดทั้งด้านจริยธรรม และ กฎหมาย ว่ามันคืออะไร เส้นแบ่งระหว่าง การสู้รบในสงครามแบบมีเกรียติกับการสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยม เอมิเลีย จาวอสกี้ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้บริหาร The Future of Life Institute มองว่า การที่ยูเอ็นกำหนดให้ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ ถึงจะออกกฎระเบียบมาควบคุมการใช้อาวุธประเภทนี้ได้ เท่ากับเป็นการปิดประตูแพ้ตั้งแรกเริ่มต้น แค่มีไม่กี่ประเทศที่ยกมือคัดค้านก็เท่ากับจบเกมทันทีซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่า ยูเอ็นยังเป็นกลไกที่ล้มเหลวในการจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่สมัยใหม่

หุ่นยนต์

 

ขณะที่ เจมส์ ดาส นักวิชาการทางด้านสิทธิมนุษยชน เขียนบทความใน The Conversation ระบุว่า สหรัฐลงทุนในงานวิจัยและพัฒนา อาวุธที่ไร้คนควบคุม ไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านเหรียญในช่วงปี 2016 – 2020 ท่ามกลางข้อกังขาถึงประสิทธิภาพและความแม่นยำของ AI ในการล็อก ‘เป้าหมาย’

เจมส์ตั้งคำถามว่า แม้กระทั่งบิ๊กเทคอย่าง Amazon หรือจะเป็น Google ก็เคยหน้าเสียจาก AI ของตัวเองมาแล้ว นอกจากนี้การที่มหาอำนาจแข่งกัน พัฒนา อาวุธชนิดหนักอาจนำไปสู่การเกิดสงครามบ่อยครั้งในอนาคต เพราะกองทัพสามารถอ้างได้ว่าการใช้ หุ่นยนต์สังหาร ระหว่างสงครามคือการช่วยและเซฟชีวิตของทหาร อีกทั้งด้วยกระบวนการผลิตที่ ไฮเทค ทำให้หุ่นยนต์เหล่านี้มีกลไกควบคุมด้าน จริยธรรม เพื่อกลั่นกรอง และประเมินสถานการณ์ก่อนปฏิบัติการอยู่แล้วทำให้ วางใจได้ แต่เจมส์ถามต่อว่า ถ้าหุ่นยนต์ยิงพลาดไปโดนผู้บริสุทธิ์ใครจะทำยังไงแล้วใครจะรับผิดชอบ ตามกฎหมายนานาชาตินั้นว่าด้วยวิธีการการทำสงครามและการปฏิบัติต่อพลรบและพลเรือน อย่างมีมนุษยธรรมระหว่างสงคราม ที่บัญญัติขึ้นที่กรุงเจนีวาตั้งแต่ปี 1864 กำหนดให้ต้องมีผู้รับผิดชอบ ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยย้ำไว้ว่า แม้ว่าทหารจะมีสิทธิ์ฆ่าศัตรู ระหว่างสงคราม แต่ไม่ได้มีสิทธิ์สังหารพลเรือน แต่ถ้าผู้ลงมือคือหุ่นยนต์ แล้วจะเอาผิดกับใคร หุ่นยนต์ ? ผู้บัญชาการกองทัพ หรือบริษัทผู้ผลิต หลายคนอาจจะคิดว่า การใช้หุ่นยนต์ฆ่าคนคงมีแต่ในหนัง แต่รายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่ในเดือน มีนาคม ยืนยันว่ามีการใช้หุ่นยนต์ฆ่าคนมาแล้วจริงๆ ในสงครามกลางเมือง ลิเบีย

ทั้งหมดทั้งมวลเรื่องหุ่นยนต์สังหารก็ยังถือว่าโลกเราตอนนี้ยังโชคดีที่ยังไม่เกิดสงครามอย่างว่าในตอนนี้ เพราะไม่งั้นมนุษย์เราทั้งโลกก็อาจจะถึงจุดจบก็เป็นได้ เราเห็นจากหนังที่ทำเกี่ยวกับหุ่นยนต์ทำสงคราม สู้รบกัน อย่างสนุกสนาน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่โลกของเรามีเหตุการณ์แบบในหนังเกิดขึ้นจริงๆ คงไม่สนุกและมันส์ เหมือนในหนังอย่างแน่นอน